top of page

เทคนิคการใช้แผ่นตรวจไข่ตกให้ถูกต้อง (Using ovulation test strip to detect your most fertile time)

อัปเดตเมื่อ 28 มี.ค. 2566

เมื่อกล่าวถึงวิธีการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ให้อสุจิสามารถผสมกับไข่ได้อย่างทันเวลา ก่อนหน้านี้หน่อยได้แนะนำเทคนิคการนับวันไข่ตก และอาหารสังเกตที่สำคัญแล้ว ตอนนี้หน่อยจะมาแนะนำตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เพื่อนๆ คาดการช่วงเวลาที่ไข่จะตก และทำภาระกิจในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ นั้นก็คือ "แผ่นตรวจไข่ตก หรือ Ovulation strip test" แต่หน่อยเชื่อว่าหลายคนยังเข้าใจผิดในการใช้แผ่นตรวจไข่ตกนะคะ เพราะ

x แผ่นตรวจไข่ตก ไม่ได้ Positive หลังจากไข่ตก

x แผ่นตรวจไข่ตก ไม่ได้เหมาะกับทุกคน

x แผ่นตรวจไข่ตก แม้ผลจะเป็นลบ ก็อาจมีไข่ตกได้

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนยังเข้าใจผิดกันอยู่ หน่อยแนะนำว่า ไม่ควรพลาดบทความนี้นะคะ เพราะหน่อยจะอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจการทำงานของมันจริงๆค่ะ ไปเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์กันค่ะ



แผ่นตรวจตั้งครรภ์มีหลักการทำงานอย่างไร (How dose it work?)


หลักการทำงานแผ่นตรวจไข่ตก จะใช้ตรวจหาระดับสูงสุดของฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) หรือ LH surge ซึ่งฮอร์โมน LH นี้เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ หลังช่วง LH surge นี้ประมาณ 12-36 ชั่วโมงถัดมา ก็จะเกิดการตกไข่ (ดั่งภาพแสดง) ดังนั้นแผ่นตรวจไข่ตกนี้ จะช่วยคาดการณ์ช่วงเวลาที่ไข่จะตกนั่นเอง



“เพราะโอกาสตั้งครรภ์จะสูงที่สุด หากมีเพศสัมพันธ์ 2 วันก่อนไข่ตก และ แผ่นตรวจไข่ตกจะ Positive 12-36 ชั่วโมงก่อนไข่ตก ดังนั้นแผ่นตรวจตั้งครรภ์จึงมีประโยชน์มาก ที่จะทำให้เรามีเพศสัมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมสุดๆค่ะ”

ประโยชน์ของแผ่นตรวจไข่ตก (What is the benefits of ovulation test?)


ก่อนหน้านี้หน่อยเคยให้ความรู้มาก่อนแล้วว่า โอกาสตั้งครรภ์จะสูงที่สุดคือ มีเพศสัมพันธ์ 2 วันก่อนไข่ตก (50%) ถ้าแผ่นตรวจไข่ตก Positive เราจะคาดการณ์ได้ว่าจะมีไข่ตกภายใน 12-36 ชั่วโมงหลังจากนี้ ดังนั้นนี้คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะปฎิบัติภาระกิจ เพื่อนให้โอกาสมีลูกสำเร็จได้มากขึ้นค่ะ



แผ่นตรวจไข่ตกใช้งานอย่างไร (How to use ovulation test?)


  • เริ่มใช้แผ่นตรวจไข่ตกได้ ในช่วงก่อนวันไข่ตก 4-5 วัน เช่น รอบเดือน 28 วัน ไข่จะตกวันที่ 14 ของรอบเดือน ให้เริ่มใช้แผ่นตรวจในวันที่ 9-10 ของรอบเดือน (อ่านเพิ่มเรื่องเทคนิคการนับวันไข่ตก)

  • ใช้แผ่นตรวจ ตรวจเรื่อยๆ จนผลได้ Positive

  • ไม่ควรตรวจหลังตื่นนอนทันที ควรตรวจสายๆ หรือช่วงบ่าย เพราะระดับ LH จะสูงมากในสายหรือบ่าย และควรกลั้นปัสสาวะก่อนตรวจเพื่อให้ระดับเข้มข้นขึ้น

  • ควรตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และควรตรวจช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน

  • ทำตามคำแนะนำของแต่ละยี่ห้อ โดยทั่วไปคือ เก็บปัสสาวะในภาชนะ จุ่มแผ่นตามแถบที่แนะนำไม่เกิน 10 วินาที แปลผลไม่เกิน 10 นาที

  • ถ้าแถบที่ 2 ขึ้นชัด เท่ากับหรือมากกว่าเส้นควบคุม (Control) แปลผล Positive นั่นคือจะมีไข่ตกภายใน 12-36 ชั่วโมงหลังจากนี้

  • ควรทำต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 cycle ( 3 รอบเดือน)

  • อาจใช้ตัวช่วยอื่นเพื่อดูการตกไข่ เช่น อุณหภูมิร่างกาย มูกจากช่องคลอด หรือ ultrasound ดูรังไข่เป็นต้น



ถ้าผลเป็นลบตลอดจนพ้นวันที่ไข่ควรตก อาจเกิดจาก (False negative)


  • ใช้ปัสสาวะช่วงเช้า

  • ระดับ LH ต่ำมากจนไม่สามารถตรวจเจอ

  • ตรวจเร็วไป หรือช้าไป ทำให้ตรวจไม่เจอ

  • บางเดือนไข่ไม่ตกจริง จากสาเหตุต่างๆ เช่นความเครียด เจ็บป่วย

  • ตรวจผิดวิธี เช่น ปัสสาวะใสไปจากการดื่มน้ำมากเกิน หรือไม่ทำตามคำแนะนำเป็นต้น


คำแนะนำหลังแผ่นตรวจไข่ตก Positive (What to do next?)


ถ้าแผ่นตรวจไข่ตก Positive หมายถึงคุณอยู่ช่วงวัยเจริญพันธ์สูง แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ในวันที่ได้รับผลบวก และมีต่อเนื่องอีก 2-3 วัน เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ โอกาสสำเร็จอยู่แค่เอื้อมค่ะ


แผ่นตรวจตั้งครรภ์ไม่เหมาะกับ (Ovulation test is not good for)


แผ่นตรวจไข่ตกไม่เหมาะกันคนที่มีปัญหา PCOS หรือ Polycystic ovary syndrome หรือ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ เพราะภาวะนี้มักไม่มีไข่ตก ทำให้ผลไม่น่าเชื่อถือได้


Take home message

  • ใช้แผ่นตรวจไข่ตกอย่างน้อย 3 วันก่อนวันไข่ตกทำเรื่อยๆทุกวันจนได้ผล Positive

  • ถ้าผลเป็นบวกให้ปฎิบัติภารกิจ (มีเพศสัมพันธ์) ในวันนั้น และ/หรือทำอีกหลังจากนั้น 2 วันถัดมา

  • ตรวจช่วงสายๆ หรือบ่าย ควรงดปัสสาวะ 4 ชั่วโมง และไม่ควรดื่มน้ำเยอะก่อนตรวจ

แผ่นตรวจไข่ตกอัจฉริยะ ช่วยให้หาวันที่ LH peak ได้แม่นยำขึ้น







หน่อยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะทำให้เพื่อนๆ สามารถใช้ประโยชน์จากแผ่นตรวจไข่ตกนี้ ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพจริงๆ นะคะ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยอะไรสามารถ comment ด้านล่าง หรือตั้งกระทู้ใน forum ก็ได้ค่ะ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะคะ


#แผ่นตรวจไข่ตก #เทคนิคมีลูกง่าย #แก้ปัญหามีลูกยาก #เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ #เตรียมตัวก่อนท้อง #ความรู้คุณแม่มือใหม่ #เทคนิคการใช้แผ่นตรวจไข่ตก #วันไข่ตก


Tantawan Prasopa. MD (พญ. ทานตะวัน พระโสภา) drnoithefamily


bottom of page