สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ : 38 weeks pregnancy เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ 38
- drnoithefamily
- 3 วันที่ผ่านมา
- ยาว 1 นาที
เข้าสู่สัปดาห์ที่ 38 แล้วค่ะคุณแม่ ตอนนี้คุณแม่ใกล้คลอดมากๆ แล้วนะคะ คุณแม่โดยส่วนใหญ่จะคลอดในช่วง 2 สัปดาห์จากวันครอบกำหนดคลอด ตื่นเต้นมั้ยคะ สัปดาห์นี้เกิดอะไรขึ้นกับลูกน้อยบ้าง ไปติดตามกัยค่ะ

Highlight
ขนหรือ Lanugo ของลูกเริ่มหลุดร่วง
Vernix หรือไขมันที่ปกคลุมลูกอยู่เริ่มหลุดออก พร้อมถ่ายรูปแรกแล้ว
สมองของลูกยังคงดึงไขมัน DHA ไปสร้างสมองต่อเนื่อง
สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?
สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 20 นิ้ว หนักประมาณ 2,100 กรัม ขึ้นไป หรือขนาดเท่า ผลแตงโมลูกเล็กๆ
ขนตามตัวเริ่มหลุดร่วง : ตอนนี้ไขมันได้สะสมใต้ผิวลูกมากแล้ว ขน Lanugo ที่เคยให้ความอบอุ่น ก็เริ่มหลุดร่วงออกไป ทำให้เห็นผิวสวยๆมากขึ้น นอกจากนี้ Vernix หรือไขมันที่คอยป้องกันผิวลูกก็ได้หลุดร่วงออกเช่นกัน ตอนนี้เค้าพร้อมถ่ายภาพใบแรกแล้วค่ะ
สร้าง Mecronium : ลูกจะกลืนน้ำคล่ำเข้าไป ลำไส้เริ่มทำงานอย่างต่อเนื่อง และเค้าจะสร้างอุจจาระแรก ที่มีสีดำ เหนียว เราจะเรียกว่า Mecronium ซึ่งการขับถ่ายแรกของลูก เป็นสัญญาณว่า ลำไส้ของลูกทำงานได้ปกติ และอาจเป็นการเปลี่ยนผ้าอ้อมแรกหลังคลอด
เล็บยาวเลยนิ้วออกมา : ตอนนี้ เล็บของลูกยาวขึ้น และอาจยาวเกินนิ้วเล็กๆ ของลูกออกมา คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับตัดเล็บให้ลูกไว้ได้เลยค่ะ
สมองสะสมไขมัน : ทุกวินาทีที่อยู่ในท้องแม่ สมองของลูกก็สร้างไปเรื่อยๆ นะคะ ลูกจะใช้ DHA เยอะมากในการสร้างสมอง คุณแม่จึงควรยังต้องทาน DHA ต่อเนื่อง โดยอาจเลือก Algae DHA เนื่องจากปลอดภัย ไม่ส่งผลให้เลือดออกผิดปกติค่ะ
อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 38
นัดตรวจภายใน
คุณหมอจะนัดคุณแม่ไปติดตาม อาจมีการตรวจภายในเพื่อดูว่า ปากมดลูกของคุณแม่เริ่มเปิด หรือนิ่มลงหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนคร่าวๆ ว่า คุณแม่ใกล้คลอดแล้วค่ะ
คันหน้าท้อง
จากผิวที่แห้ง ขยายมากขึ้น และ sensitive มากขึ้น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกคันที่ผิวได้ คุณแม่ควรหาโลชั่นที่มีความชุ่มชื่น เพื่อลดอาการคันที่เกิดขึ้น
สัญญาณคลอด
ที่คุณแม่ต้องสังเกตุให้มากขึ้นตั้งสัปดาห์นี้
Mucus plug/ Bloody show : จะสังเกตุว่า มีตกขาวออกมามาก อาจมีเลือดปน เป็นสัญญาณว่า ปากมดลูกเริ่มเตรียมพร้อมต่อการคลอดแล้ว
ท้องเสีย : อาจเกิดจากฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการคลอด กระตุ้นในลำไส้มีการเคลื่อนตัวมากขึ้น อาจส่งผลให้แม่มีอาการท้องเสียได้
มดลูกหดเกร็ง: ปกติมดลูกจะมีการฝึกบีบตัวบ้างแต่ไม่เป็น pattern ถ้าอาการหดเกร็ง เริ่มมาสม่ำเสมอ ถี่ขึ้น ไม่หายไปใน 2 ชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณการเจ็บครรภ์จริงค่ะ
น้ำคล่ำแตก (water breaking): มีน้ำไหลออกทางช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณว่า ถุงน้ำคล่ำแตก และจะกระตุ้นให้เกิดการคลอดในไม่ช้า คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
Tip สำหรับสัปดาห์นี้
เตรียมกระเป๋าคลอดให้พร้อม
ลางานให้พร้อม เพราะคุณแม่อาจจะคลอดในอีกไม่ช้านี้
เตรียมวางแผนการบำรุงในช่วงหลังคลอด หรือเตรียมอาหารเสริมบำรุงน้ำนมเพื่อให้น้ำนมมาได้ไว
เตรียมชุดสำหรับให้นมให้เรียบร้อย
ทานอาการเสริมสำหรับคุณแม่ต่อเนื่อง
บำรุงน้ำนมเตรียมพร้อม เพื่อให้น้ำนมมาดีในช่วงหลังคลอด
นับลูกดิ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามสุขภาพของลูกน้อย
ผ่านไปแล้ว 38 สัปดาห์ มาร่วมเดินทางไปสู่สัปดาห์ที่ 39 ไปด้วยกันนะคะ ขอให้คุณแม่และตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Kommentare