top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

เพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน บำรุงผนังมดลูก เพิ่มโอกาสท้องได้สำเร็จ (How to help implantation)

อัปเดตเมื่อ 26 พ.ค. 2564

หลังไข่ตกประมาณ 7-10 วัน หลังปฎิสนธิจะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัว หรือเป็น 2 สัปดาห์ที่เรารอคอย (Two weeks wait) ว่าตัวอ่อนจะปฎิสนธิและฝังตัวสำเร็จหรือไม่? หลายๆ คนก็คงอยากจะทราบว่า เราจะสามารถทำอะไรเพื่อเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน หรือบำรุงมดลูก บำรุงผนังมดลูก ให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อนได้บ้าง วันนี้หน่อยมีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ทุกคนไม่ควรพลาดค่ะ ไปติดตามกันได้เลยค่ะ



ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า มีอะไรที่คุณสามารถทำได้บ้าง เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนได้บ้าง คำตอบคือ ไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าอะไรสามารถเพิ่มโอกาสการฝังตัวได้จริง ซึ่งช่วงระยะที่ตัวอ่อนกำลังจะฝังตัวอยู่ในช่วง Luteal phase ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล (Progesterone) ทำงานเป็นหลัก โดยฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดยขนาดผนังมดลูกที่เหมาะสมคือ 8-14 มิลลิเมตร หากต้องการให้ขนาดของมดลูกเหมาะสม ต้องเริ่มต้นจากการทำงานของฮอร์โมนที่เหมาะสมซึ่งต้องอาศัยการดูแลสุขภาพ และการบำรุงที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้


ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล (Progesterone) ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างผนังมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน โดยเมื่ออายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรล ก็ลดลง ทำเกิดปัญหาในช่วงการฝังตัวของตัวอ่อนได้


5 วิธีที่อาจสามารถเพิ่มคุณภาพของการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลได้คือ

  1. อาหารที่ช่วยในการทำงานของฮอร์โมนเพศ

  2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ

  3. ลดความเครียด

  4. ลดมวลไขมันในร่างกาย

  5. วิตามินบำรุง

1. อาหารที่มีส่วนช่วยในการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล(Progesterone)

  • อาหารที่มีแมกนีเซี่ยมสูง (Magnesium-Rich Foods) แมกนีเซี่ยมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงระบบสืบพันธุ์ แมกนีเซี่ยมยังช่วยในการดูดซึมของแคลเซี่ยมและวิตามินดีอีกด้วย โดยร่างกายต้องการแมกนีเซี่ยมประมาณ 320 มิลลิกรัมต่อวัน โดยอาการที่มีแมกนีเซี่ยมสูงเช่น ดาร์กช็อคโกเลต อัลมอลด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อโวคาโด้ เป็นต้น

  • อาหารที่มีวิตามินบี 6 (Vitamin B6 Foods) วิตามินบี 6 มีความสำคัญในการทำงานของฮอร์โมนเพศ โดยพบว่าการทานวิตามินบี 6 อย่างสม่ำเสมอช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรลและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย โดยอาหารที่มีวิตามินบีสูงเช่น ปลาแซลมอล ไข่ นม แครอท

  • อาหารที่มีสังกะสีสูง (Zinc-Rich Foods) Zinc มีความสำคัญมากต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศ ไม่ว่าจะเป็น FSH, LH, Estrogen หรือ Progesterone พบว่ามากกว่า 75% ของประชากรขาด Zinc โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการเพิ่มอาหารที่มี Zinc อยู่ รวมถึงการทานวิตามินที่มี Zinc จึงมีความสำคัญในการเพิ่มการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลด้วย อาหารที่มี Zinc สูงเช่น อาหารทะเล เมล็ดถั่ว ขนมปัง whole grain เป็นต้น

  • อาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง(Omega-3 rich food) เช่น ปลาแซลมอล ปลาทูน่า ปลาทู เนื่องจากโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศโดยรวม ทำให้ฮอร์โมนสมดุล

  • นอกจากนี้อาหารที่มี วิตามินอี วิตามินซี จะช่วยให้เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้ผนังมดลูกพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อนมากขึ้นอีกด้วย


2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ


ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมของเรามีสารที่มารบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศของเราอยู่หลายอย่าง สารที่มารบกวนฮอร์โมนที่เราพบได้บ่อยคือ Xenoestrogen หรือเอสโตรเจนเทียมที่มาจากนอกร่างกาย การรับเอา Xenoestrogen เข้าไปในร่างกายมากๆ ส่งผลทำให่การทำงานของฮอร์โมนอื่นๆในร่างกายผิดปกติ รวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลด้วย อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่

  • เลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม (Processed Foods) รวมถึงสัตว์ที่ใช้สารเคมีในการเลี้ยงเช่น เนื้อ หมู ไก่

  • เลี่ยงการทานอาหารหรือเครื่องดื่มจากขวดพลาสติก เนื่องจากมี BPA ที่มีผลต่อร่างกาย (อ่านเรื่อง BPA)

  • เลี่ยงการทานอาหารกระป๋อง เนื่องจากอาจได้รับสาร BPA ที่มีผลต่อร่างกาย

  • เลี่ยงการให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Phthalate ซึ่งมีผลต่อร่างกาย

3. ลดความเครียด (Reduce the amount of stress in your life)


ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลลดลง เนื่องมากจากว่า เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ต่อมหมวกไตจะหลังฮอร์โมนเครียด (Cortisol) มากขึ้น ซึ่งสารตั้งต้นของการสร้างคอร์ติซอลเป็นตัวเดียวกับโปรเจสเตอโรล ทำให้การสร้างโปรเจสเตอโรลลดลง นอกจากนี้ เมื่อเกิดภาวะเครียด ร่างกายจะให้ความสำคัญต่อความเครียดเป็นหลัก ทำให้งานทำงานของฮอร์โมนเพศลดลง การลดความเครียดจึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรล การลดความเครียดสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย การไปเที่ยวธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับว่าวิธีไหนเป็นวิธีที่เหมาะกับคุณค่ะ (อ่านเรื่องความเครียดกับการมีลูก)


4. ลดน้ำหนักและลดไขมันส่วนเกิน (Reduce your level of body fat)


หากใครที่มีน้ำหนักเกินหรือมีไขมันส่วนเกินเช่นไขมันหน้าท้อง อาจต้องวางแผนเพื่อลดน้ำหนักได้แล้วนะคะ โดยน้ำหนักที่เหมาะสมคือ BMI 20-24 สาเหตุที่น้ำหนักและไขมันส่วนเกินมีผลต่อระดับโปรเจสเตอโรล คือ ไขมันส่วนเกินสามารถสร้างเอสโตรเจนเพิ่มในร่างกายได้ เมื่อเอสโตรเจนถูกสร้างเพิ่มมากเกินความต้องการ แต่โปรเจนเตอโรลไม่ได้มากขึ้น ทำให้อัตราระหว่าง เอสโตรเจน/โปรเจสเตอโรล ไม่เหมาะสม การทำงานต่างๆเลยผิดปกติไป ดังนั้นการสดไขมันส่วนเกินและลดน้ำหนัก จะทำให้การทำงานของฮอร์โมนต่างๆกลับมาปกติมากขึ้น


5. วิตามินบำรุง


การกินวิตามินบำรุง สามารถช่วยเสริมวิตามินที่จำเป็นต่อการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรล โดยวิตามินที่ความสำคัญในช่วยการฝังตัวของตัวอ่อน เช่น วิตามินดี โอเมก้า3 Zinc ช่วยส่งเสริมให้การทำงานต่างๆของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการฝังตัวของตัวอ่อนดีขึ้น แนะนำให้ทานวิตามินบำรุงตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนตั้งครรภ์ โดยแนะนำให้เลือกวิตามินบำรุงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์


อย่างไรก็ตาม การเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้สำเร็จต้องเริ่มทำตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ป็นเวลา 2-3 เดือน เนื่องจากการปรับสมดุลของฮอร์โมนต้องใช้เวลา และที่สำคัญ ไข่และสเปิร์ม ต้องแข็งแรง เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง เพราะถ้าตัวอ่อนไม่แข็งแรง ต่อให้ผนังมดลูกของเราเหมาะสมแค่ไหน โอกาสล้มเหลวก็มีมากกว่าค่ะ แล้วมาติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจใหม่ในตอนหน้านะคะ


Tantawan Prasopa. MD (พญ. ทานตะวัน พระโสภา) drnoithefamily


#ตัวอ่อนฝังตัว #บำรุงผนังมดลูก #เพิ่มโอกาสตัวอ่อนฝังตัว #เทคนิคมีลูกง่าย #อยากมีลูก #วางแผนมีลูก #วางแผนก่อนท้อง #เตรียมตัวท้อง #เตรียมพร้อมตั้งครรภ์



ดู 22,412 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page