top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

สัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ : 28 weeks pregnancy เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ 28

ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วค่ะ อีกไม่นาน คุณแม่จะได้เจอตัวเล็กแล้วนะคะ สัปดาห์นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ



Highlight

  • สมองของลูกจะพัฒนายิ่งกว่าเดิมในไตรมาสนี้ค่ะ

  • ระบบสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การได้กลิ่น รสชาติ สัมผัส การได้ยิน การมองเห็นของลูกจะพัฒนามากขึ้นกว่าเดิมมากค่ะ

  • ลูกเริ่มมีการฝัน เนื่องจากจะมี REM sleep แล้วในสัปดาห์นี้ค่ะ

  • ลูกจะชอบทำหน้าตาทะเล้นๆ มากขึ้นค่ะ


สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?


สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 15 นิ้ว ขนาดเท่า มะเขือม่วง เลยค่ะ นอกจากตัวจะใหญ่มากขึ้นแล้ว พัฒนาการอื่นๆ ของเค้าก็ดีขึ้นเช่นกันค่ะ

  • สมอง : การพัฒนาสมองในไตรมาสนี้สำคัญมากๆ สมองของลูกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนโตขึ้นเป็น 3 เท่าจากก่อนหน้านี้ นอกจากปริมาตรจะมากขึ้น รอยหยักของสมองของมีมากขึ้นเช่นกัน ไตรมาสนี้จึงควรเสริม DHA และ โคลีน อย่างต่อเนื่องค่ะ

  • ฝัน: สัปดาห์นี้ลูกอาจเริ่มฝันถึงคุณแม่แล้วนะคะ เนื่องจากลูกจะมี REM sleep แล้ว ซึ่งเป็น stage ที่อาจเกิดการฝันได้คะ

  • ท่าของลูก: ในสัปดาห์นี้เด็กบางคนจะเริ่มกลับหัว เอาหัวเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานแล้วนะคะ แต่บางคนเค้าก็ไม่รีบ รอติดตามได้อีกนิดนึงค่ะ


อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 28


ไตรมาสที่ 3 ไม่ง่ายเลยสำหรับคุณแม่นะคะ การที่ท้องโตขึ้น ลูกตัวโตขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่สบายเหมือนไตรมาสที่นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่คุณแม่จะเริ่มพบได้ในไตรมาสนี้ เช่น


Siatica pain


เมื่อลูกเริ่มกลับหัว เค้าอาจจะไปกดเส้นประสาทที่เรียก Siatic nerve ที่อยู่ทางด้านหลัง ทำให้แม่อาจมีอาการปวดได้ เราจะเรียกว่า Siatica pain เป็นอาการปวดจี้ด (Shape, Shooting pain) ร้าวจากสะโพกไปที่ขา ซึ่งอาการอาจเป็นสักพัก จนกว่าลูกจะเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเอง หากอาการเป็นมาก การยืดเส้น ให้แผ่นร้อยประคบก็อาจพอช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ


Braxton Hick contraction


Braxton Hick contraction เป็นขั้นตอนที่ร่างกายคุณแม่ เตรียมมดลูกและปากมดลูกไว้ในช่วงการคลอด จริงๆ บางท่ายอาจรู้สึกมาก่อนหน้านี้ แต่ตอนนี้จะเริ่มชัดเจนขึ้น เราอาจจะเรียกว่า "อาการเจ็บครรภ์หลอก" ก็ได้ ซึ่งอาการเป็นเป็นอาการเกร็งตัวของมดลูก ในช่วงสั้นๆ ไม่เป็น pattern อาจหายไปเองจากการเปลี่ยนท่า มักถูกกระตุ้นจากภาวะขาดน้ำ หรือ กิจกรรมบางชนิด ซึ่งไม่ได้มีอะไรน่ากังวล


แต่ถ้าการเจ็บท้องเป็นนานขึ้น บ่อยขึ้น และเริ่มมี pattern อาจต้องระวังว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะ


Tip สำหรับสัปดาห์นี้


ไตรมาสนี้คุณหมออาจจะนัดคุณแม่ติดตามอาการถี่ขึ้นเป็น 2 สัปดาห์ครั้งนะคะ เนื่องจากอาการของคุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ สิ่งที่อยากแนะนำคุณแม่ในสัปดาห์นี้คือ

  • น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มเร็วในไตรมาสนี้ ระวังเรื่องอาหารการกินค่ะ เน้นโปรตีน ผัก พืชต่างๆ นะคะ คุณแม่ควรควบคุมไม่ให้น้ำหนักขึ้นเกิน 0.5 kg ต่อสัปดาห์ค่ะ

  • เพิ่มอาหารที่มี DHA สูง ไตรมาสนี้ ควรเสริม DHA 500 mg ต่อวันค่ะ

  • เพิ่มอาหารที่มีโคลีนสูง แม่ควรได้ 450-550 mg ต่อวันในไตรมาสนี้ค่ะ

  • เพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาจจำเป็นต้องทานเป็นวิตามินเสริม ถ้าคุณแม่มีความเสี่ยงในเรื่องซีดค่ะ

  • สัปดาห์นี้คุณแม่ที่ครรภ์เสี่ยงอาจเริ่มนับลูกดิ้นได้ค่ะ แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยง สามารถเริ่มนับตอน 34 สัปดาห์ได้ค่ะ

  • คุณแม่อาจเริ่มหาข้อมูลเพื่อเตรียมห้องให้เจ้าตัวเล็กแล้วนะคะ เอาไว้หมอหน่อยจะมาแชร์รายละเอียดอีกทีค่ะ


ผ่านไปแล้ว 28 สัปดาห์ สัปดาห์นี้คุณแม่อาการเป็นยังไงบ้าง มาเล่าให้หมอหน่อยฟังบ้างนะคะ แล้วมาติดตามกันใหม่ในสัปดาห์ที่ 29 ค่ะ


เขียนโดย


พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)








ดู 25 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page