top of page
  • YouTube
  • Facebook
  • Instagram
  • LinkedIn

สัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์ : 35 weeks pregnancy เกิดอะไรขึ้นบ้างในสัปดาห์ที่ 35

รูปภาพนักเขียน: drnoithefamilydrnoithefamily

สัปดาห์ที่ 35 เวลาผ่านไปเร็วมากๆ เลยนะคะ อีกไม่นานคุณแม่จะได้เจอตัวเล็กแล้วนะคะ ตอนนี้ตื่นเต้นมั้ยคะ สัปดาห์นี้คุณแม่และลูกน้อยจะเป็นยังไงบ้าง ไปติดตามกันค่ะ



Highlight


  • สัปดาห์นี้ท้องของคุณแม่ อาจเปลี่ยนรูปไปมา ตามการขยับของลูก

  • ตอนนี้โดยส่วนใหญ่ ลูกจะเริ่มกลับหัว เอาหัวลงอุ้งเชิงกรานแล้ว


สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?


สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 18.2 นิ้ว หรือขนาดเท่าลูกเมลอน


  • การนอนเริ่มเป็น Pattern : ในตอนนี้ลูกจะนอนและตื่นเป็น Pattern ดังนั้น คุณแม่จะสังเกตุว่าลูกขยับมากขึ้นเวลาตื่น และจะขยับน้อยลงเวลาหลับ


  • กะโหลกศีรษะยังคงนิ่ม : กะโหลกศีรษะลูกยังคงนิ่ม แต่สมองของลูกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างรอยหยักอย่างต่อเนื่อง



อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 35


ปัสสาวะบ่อยขึ้น


ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากหัวของทารกที่กดตรงกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คอยที่จะกระตุ้นให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยๆ คุณแม่ไม่ควรอั้นปัสสาวะ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย


เส้นดำกลางหน้าท้องเห็นชัดขึ้น


ในตอนนี้ คุณแม่จะเห็นเส้นดำกลางหน้าท้องชัดเจนมากขึ้น จากฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ แต่เส้นดำนี้จะค่อยๆ จางลงในช่วงหลังคลอดค่ะ


อาการกรดไหลย้อน


อาการกรดไหลย้อนเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากๆ ในช่วงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในโค้งสุดท้าย เนื่องจากการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหาร ร่วมกับการดันของมดลูก ทำให้พื้นที่กระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อยได้ง่ายมากขึ้น


คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดมาก หรือมีความเป็นกรดสูง เช่น โคล่า โซดา แนะนำให้แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ เพื่อให้กระเพาะอาหารย่อยได้ง่ายขึ้น


อาการกรดไหลย้อน มักจะดีขึ้นในช่วงหลังคลอดค่ะ



Tip สำหรับสัปดาห์นี้


  • วางแผนเรื่องการคลอดร่วมกับคุณหมอ ว่าคุณแม่จะสามารถคลอดธรรมชาติได้หรือไม่ ต้องการการใช้ยาชาในช่วงคลอดด้วยมั้ย

  • ควรเริ่มเตรียมกระเป๋าสำหรับไปโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

  • ฝึกสังเกตุอาการเจ็บครรภ์จริง โดยอาการของการเจ็บครรภ์คลอดจริง ที่แม่ๆ สามารถสังเกตุได้คือ

    • จะมีอาการปวดหลังบริเวณบั้นเอวร้าวมาบริเวณหน้าท้อง

    • อาการปวดจะสม่ำเสมอ และระยะเวลาจะสั้นขึ้นเรื่อยๆ เช่นจากทุกๆ 30 นาที เป็น 20 นาที เป็น 10 นาที

    • ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย เช่นจากเดิมเจ็บครั้งละ 10-15 วินาที เพิ่มเป็น 45-50 วินาที

    • มีมูกปนเลือด หรือ “bloody show”

    • อาจรู้สึกว่าลูกเริ่มลงไปในอุ้งเชิงกราน

    • อาจมีน้ำเดิน ซึ่งเกิดจากการที่ ถุงน้ำคร่ำแตก

    • อาจมีอาการท้องเสีย หรือถ่ายบ่อยขึ้น เนื่องจากมีการหลั่งของ Prostaglandin เชื่อว่าเกิดจากการที่ร่างกายต้องการให้ลำไส้ว่าง เพื่อให้การบีบรัดของมดลูกดีขึ้น

    • ปากมดลูกเปิด จากการตรวจด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    อาการที่บ่งบอกว่าเค้าสู่ระยะคลอดแล้วคือ มีอาการหดรัดตัวของมดลูก 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ร่วมกับมีการเปิดของปากมดลูกอย่างน้อย 1 เซนติเมตร และบางตัวมากกว่า 80%


ผ่านไปแล้ว 34 สัปดาห์ มาร่วมเดินทางไปสู่สัปดาห์ที่ 35 ไปด้วยกันนะคะ ขอให้คุณแม่และตัวเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ


เขียนโดย


พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)








Comentarios


Thanks for submitting!

  • YouTube
  • Facebook
  • LinkedIn

© 2020 created by Tantawan Prasopa.MD

bottom of page