top of page

สัปดาห์ที่ 9 ของการตั้งครรภ์ : 9 weeks pregnancy การเดินทางของคุณแม่สัปดาห์ต่อสัปดาห์

อัปเดตเมื่อ 5 ส.ค.

สัปดาห์ที่ 9 แม่อาจมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ ช่วงนี้เป็นช่วง Gear up ในการสร้างรก รกจะทำหน้าที่สำคัญในการลำเลียงอ๊อกซิเจน และสารอาหารต่างๆ จากแม่ไปสู่ลูกน้อย สายรก ที่จะสร้างสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ไปจนวินาทีที่ลูกคลอดออกมาค่ะ




Highlight

  • สัปดาห์นี้หัวใจของลูกแข็งแรงมากขึ้น อาจเริ่มได้ยินจากการฟังทางหน้าท้องได้ และจะเห็นได้ชัดตอนทำ Ultrasound ค่ะ

  • สัปดาห์นี้กล้ามเนื้อของลูกแข็งลูกแข็งแรงมากขึ้น แต่อาจยังไม่สามารถทำให้แม่ได้รู้สึกถึงการดิ้นหรือการถีบนะคะ

  • ตอนนี้ส่วนที่เคยเป็นหางของลูกได้หายไป คงเหลือไว้คือก้นน่ารักๆ ของลูกค่ะ


สัปดาห์นี้ลูกน้อยเป็นยังไง?


สัปดาห์นี้ลูกขนาดประมาณ 1 นิ้ว หรือขนาดเท่ากับผลโอลีฟ ศีรษะของลูกได้ฟอร์มเต็มที่ภายใต้ศีรษะนั้นก็มรสมองที่เจรฺญเติบโตทุกนาทีเช่นกัน หู จมูก ปาก ของลูกเริ่มชัดเจนขึ้น ทำให้ลูกคล้ายมนุษย์ขึ้นมาทุกที ในขณะที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ตับ ปอด ก็เริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องค่ะ


ตอนนี้หัวใจของลูกแข็งแรงขึ้น การบีบตัวชัดเจน อาจสามารถฟังทางหน้าท้องได้ และจะเห็นชัดเจนจากการทำ Ultrasound กล้ามเนื้อของลูกเริ่มสร้างทำให้แขนขาแข็งแรงมากขึ้น และอาจเริ่มขยับได้เล็กน้อย แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกอะไรนะคะ


อาการของคุณแม่สัปดาห์ที่ 9


อาการอ่อนเพลีย


สัปดาห์นี้คุณแม่จะมีอาการอ่อนเพลียมากเป็นพิเศษ สาเหตุเนื่องมาจากการที่คุณแม่ต้องใช้พลังงานในการสร้างรก และการเจริญเติบโตของลูกน้อย รกจะมีการสร้างอย่างรวดเร็วเพื่อจะได้พร้อมทำงานในไตรมาสที่ 2 รกจะทำหน้าที่สำคัญในลำเลียงอ๊อกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงลูกน้อย ซึ่งสารอาหารที่จะช่วยในการสร้างรกนี้ที่สำคัญ คือ โฟเลต โคลีน และธาตุเหล็ก คุณแม่ควรได้รับสารอาหารนี้อย่างเพียงพอ


สาเหตุอีกอย่างนึงที่ทำให้คุณแม่อ่อนเพลียคือ ฮอร์โมนคนท้อง อาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำลง ความดันต่ำลง ส่งผลให้อาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติได้


อาการคัดตึงเต้านม


ในช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการคัดตึงเต้านมได้ จากการที่มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น จากการที่ขนาดขยายอย่างรวดเร็ว บางครั้งคุณแม่จะมีความรู้ตึง หรือ ไวต่อความรู้สึกมากขึ้น


อาการท้องผูก


จากการที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรลมากขึ้น ลำไส้บีบตัวน้อยลง อาจทำให้มีอาการท้องผูกได้ง่ายขึ้น และอาการท้องผูกอาจมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดการตั้งครรภ์


Tip สำหรับสัปดาห์นี้


  • ทานน้อยๆ แต่ทานบ่อยๆ เนื่องจากทั้งอาการแพ้ท้อง อ่อนเพลีย อาจทำให้คุณแม่ทานมื้อหนักๆ ได้ยากขึ้น แนะนำแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ ประมาณ 6 มื้อต่อวัน โดยเน้นอาหารโปรตีนสูง มีสารอาหารเพียงพอดีต่อสุขภาพ หรือจะบำรุงเป็นโปรตีน Love ก็ได้เช่นกันค่ะ

  • อาการท้องผูก ลดอาการได้ด้วยการทานไฟเบอร์มากขึ้น ดื่มน้ำมากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น อาจเพิ่ม Prebiotic และ Probiotics เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งใน Love protein ทุกสูตร จะช่วยระบบขับถ่ายได้ดีค่ะ

  • อาการคัดตึงหน้าอก สามารถลดอาการได้ด้วยการประคบเย็น ซึ่งอาการคัดตึงนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ค่ะ

  • ไม่แนะนำให้ซื้อ เครื่องฟังหัวใจลูกแบบ Home used มาใช้เอง เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรก ยังอยู่ในช่วงพัฒนาร่างกายของลูก การซื้อมาใช้เอง หากพ่อแม่ฟังไม่เจอ จะทำให้กังวลเป็นอย่างมาก แนะนำให้ไปฝากครรภ์ตามนัดปกติก็เพียงพอค่ะ


สัปดาห์นี้ แม่ๆ หลายคนอาจกังวลว่าอาการแพ้ท้อง ทานได้น้อย อาจทำให้ลูกไม่แข็งแรง แต่จริงๆ แล้วในไตรมาสแรกนี้ ลูกยังสามารถได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดง อย่างไรก็ตาม การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะช่วยทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อย มีสุขภาพที่แข็งแรง และการตั้ครรภ์ราบรื่นค่ะ


เขียนโดย

พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)








ดู 60 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page