top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

Prebiotic คืออะไร? Prebiotic ดีต่อร่างกายอย่างไร? (Prebiotics)

หลายคนอาจคุ้นกับ Probiotic มาบ้างแล้วนะคะ แต่มีอีกอย่างที่สำคัญต่อการทำงานของลำไส้ของเราคือ Prebiotic ค่ะ แต่ Prebiotic คืออะไร? ต้องทานแบบไหนถึงจะได้รับ prebiotic อย่างพอ วันนี้มาติดตามในบทความกันค่ะ


Prebiotic คืออะไร?


Prebiotic (พรีไบโอติก) เป็นไฟเบอร์ ที่เป็นมิตรต่อแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ หรือก็คืออาหารของ Prebiotic ทั้งยังช่วยให้ให้แบคทีเรียในลำไส้ สร้างสารอาหารสำคัญ ที่เป็นผลดีต่อลำไส้ นอกจากนี้สารอาหารบางอย่างที่สร้างขึ้นในลำไส้ เช่น butyrate, acetate, and propionate ที่สามารถดูดซึมผ่านเส้นเลือด ไปช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายด้วยค่ะ (1) กล่าวโดยสรุปคือ Prebiotic ช่วยให้แบคทีเรียที่ดีในร่างกายทำงานดีขึ้น ทำให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น


Prebiotic และ Probiotic แตกต่างกันอย่างไร?


ทั้งพรีไบโอติก และโพรไบโอติก ดีต่อลำไส้ทั้งคู่ แต่ทำงานให้บทบาทที่แตกต่างกัน พรีไบโอติกเป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ พรีไบโอติกเป็นไฟเบอร์ที่ร่างกายย่อยไม่ได้ และเคลื่อนที่ไปที่ลำไส้ใหญ่ เพื่อไปเป็นอาหารให้กับโปรไบโอติก

พรีไบโอติก (Prebiotics) เป็นยีสหรือแบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้ ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี และสุขภาพโดยรวมของร่างกายแข็งแรง (อ่านเพิ่มเติมเรื่องโปรไบโอติก)


อาหารที่มีพรีไบโอติกสูง


ตามปกติเราสามารถได้รับพรีไบโอติกได้จากอาหารต่างๆ เช่น

  • แอปเปิล

  • Artichokes

  • หน่อไม้ฝรั่ง

  • กล้วย

  • Barley

  • เบอร์รี่

  • โกโก้

  • Flexseed

  • กระเทียม

  • หัวหอม

  • ข้าวโอ๊ต

  • Wheat

  • ถั่วเหลือง

  • มะเขือเทศ

ในปัจจุบันมีอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิดที่ใส่ พรีไบโอติก เข้าไปด้วย เช่น

  • ขนมปัง

  • ซีเรียล

  • คุกกี้

  • โยเกิร์ต

  • เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ โกโก้

โดยพรีไบโอติกที่สามารถพบได้ในท้องตลาด เช่น

  • Galactooligosaccharides

  • Fructooligosaccharides

  • Oligofructose

  • Chicory fiber

  • Inulin

และที่สำคัญในน้ำนมแม่ก็มีพรีไบโอติก ส่งผ่านไปให้ลูกน้อยค่ะ


ประโยชน์ของ Prebiotic


นอกจากเป็นอาหารให้แบคทีเรียดีในลำไส้แล้ว พรีไบโอติก ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก

  • ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม

  • ลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือด

  • ช่วยให้ลำไส้ย่อยอาหารได้เร็วขึ้น ทำให้ลดอาการท้องผูก

  • ช่วยให้เซลล์บริเวณผนังลำไส้แข็งแรง

การศึกษาใหม่ๆ ยังพบความสัมพันธ์ของพรีไบโอติกช่วยลดอาการ IBS (Irritable Bowel Syndrome) และอาจช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้


ควรทานพรีไบโอติกอย่างไร?


ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทาน พรีไบโอติก 5 กรัมต่อวัน โดยแนะนำให้ทานพรีไบโอติกจากอาหารต่างๆ เนื่องจากจะได้รับวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อไม้ให้มีอาการท้องอืดค่ะ


กาแฟไร้คาเฟอีน Pink Cup (ส่วนผสมของ Prebiotic : FOS และ Inulin)

ยังมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Prebiotic อีกนะคะ แล้วมาติดตามกันใหม่ค่ะ


เขียนโดย

พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)

ดู 548 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page