top of page

วิตามินบำรุงไข่ เพิ่มคุณภาพไข่ (Supplements to improve egg quality)

อัปเดตเมื่อ 28 มี.ค. 2566

สาวๆ หลายคนที่มีปัญหาเรื่องไข่ตกไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีคุณภาพ คงอยากได้ตัวช่วยที่สามารถเพิ่มคุณภาพของไข่ เพราะไม่ว่าจะวางแผนตั้งท้องแบบธรรมชาติ หรือ วางแผนใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ก็ต้องอาศัยไข่ที่มีคุณภาพและแข็งแรง วันนี้หน่อยจะมาแนะนำวิตามินและเกลือแร่ที่อาจสามารถเพิ่มคุณภาพให้ไข่ของเพื่อนๆได้ และสามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายวิตามินโดยทั่วไปค่ะ ไปติดตามกันได้เลย



เป็นที่ทราบกันดีว่า แต่ละเดือนจะมีไข่ที่แข็งแรงที่สุดที่จะตกมาแค่เดือนละ 1 ฟอง แต่ด้วยหลายๆปัจจัยอาจจะทำให้ในบางเดือน ไม่มีไข่ที่แข็งแรงเพียงพอ อาจจะทำให้ไข่ไม่ตกในเดือนนั้นๆ และเราอาจจะพลาดโอกาสมีลูกได้ แม้ว่าการทานอาหารให้ได้สารอาหารที่เพียงพอจะสำคัญที่สุด แต่ในบางคนที่มีภาวะขาดสารอาหารบางอย่างอยู่แล้ว อาจไม่สามารถทานสารอาหารได้เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เราต้องการบำรุงไข่ของเราเอง ในงานวิจัยจะมีกล่าวถึงวิตามินและเกลือแร่บางชนิด ที่อาจมีผลดีและสามารถเพิ่มคุณภาพของไข่ได้ วันนี้หน่อยจะยกตัวอย่างวิตามินและเกลือแร่บางชนิด ที่เพื่อนๆ อาจหามาทานเสริมเพื่อเพิ่มคุณภาพของไข่ค่ะ


1, Zinc (สังกะสี)

Zinc มีความสำคัญในกระบวนการสร้าง cell และ DNA synthesis มีส่วนสำคัญในช่วงที่ไข่เริ่มแบ่งตัว และมีบทบาทในช่วงที่ไข่ตก พบว่าในคนที่ขาด Zinc มีผลต่อการเติบโตและเจริญของไข่ และอาจทำให้ไข่ไม่ตกได้ Zinc ยังมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย นอกจากนี้ยังพบว่าถ้าขาด Zinc อาจส่งผลให้เกิดการแท้ง (Miscarriage) ได้ง่ายขึ้น

โดยทั่วไป เรามักจะมีภาวะขาด Zinc ได้ง่ายจากปัจจัยหลายๆด้าน เช่นการปรุงอาหารอาจทำให้ Zinc ในอาหารลดลง ความเครียด การสูบบุหรี่ มลภาวะต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายใช้ Zinc มากขึ้นจะทำให้ขาด Zinc โดยที่ไม่รู้ตัวได้ โดยคำแนะนำในการทาน Zinc เพื่อช่วยในเรื่องการตกไข่ แนะนำให้ทานในขนาดวันละ 15 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ถ้าคนที่ขาดมากๆ อาจสามารถทานได้ถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน (วิตามินที่แนะนำ)


2. Omega-3

มีการศึกษาพบความสำคัญของ Omega-3 ในการเพิ่มภาวะเจริญพันธุ์ทั้งในหญิงและชาย อย่างที่เคยทราบกันดีคือ omega-3 จะประกอบด้วย EPA ที่มีความสำคัญในการลดการอักเสบซึ่งมีผลดีต่อการพัฒนาของเซลล์ไข่ และ DHA ที่มีผลต่อการทำงานของฮอร์โมน ซึ่งพบว่าคนที่ขาด Omega-3 มีโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยากได้มากกว่าคนที่กิน Omega-3 ได้เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าการกิน Omega-3 ทำให้ระดับฮอร์โมน FHS สูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไข่ และ Omega-3 มีผลมากขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 35 ซึ่งงานวิจัยพบว่า คนที่ทาน Omega-3 เพียงพอมีระบบสืบพันธุ์ที่ดีกว่า ในช่วงอายุที่มากกว่า 35 ปีขึ้นไป โดยขนาด Omega-3 ที่แนะนำคือ DHA 225-500 มิลลิกรัมต่อวัน และ EPA 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน (Omega-3 ที่แนะนำ)



“เนื่องจากไข่มีโอกาสตกแค่เดือนละ 1 ครั้ง ถ้าไข่ของเราแข็งแรง โอกาสที่ไข่จะตกอย่างสม่ำเสมอก็มีมากขึ้น ทำให้โอกาสตั้งท้องก็จะมีมากขึ้นไปด้วยค่ะ”

3. Iron (ธาตุเหล็ก)

ธาตุเหล็กมีความสำคัญในการสร้าง Hemoglobin ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเม็ดเลือดแดง และ Hemoglobin ก็ช่วยนำ Oxygen ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของเซลล์รวมถึงเซลล์ไข่ด้วย นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังช่วยในการสร้าง DNA และ RNA ช่วยในการเติบโตของเซลล์ไข่ จากการศึกษาพบว่าคนที่ทานธาตุเหล็กเสริม 40% ตั้งท้องได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ได้ทานธาตุเหล็กเสริมโดยขนาดธาตุเหล็กที่ใช้ในการศึกษาคือ 40-60 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากสามารถทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเสริมได้ โดยเฉพาะธาตุเหล็กจากพืช อาจทานธาตุเหล็กเพิ่มประมาณ 18-27 มิลลิกรัมต่อวัน (วิตามินแนะนำ)


4. Folic acid

Folic acid หรือ Folate คือวิตามินบี 9 ซึ่งความสำคัญของ Folic acid ในระบบสืบพันธุ์คือ Folic acid ช่วยในการสร้าง DNA และ RNA มีส่วนสำคัญในการสร้างกรดอมิโนที่จำเป็นต่างๆ และมีความสำคัญในการแบ่งเซลล์ โดยมีการศึกษาพบว่าคนที่ทาน Folic acid 700-800 ไมโครกรัมต่อวันมีลูกง่ายกว่าคนที่ทาน Folic acid น้อยกว่า 300 ไมโคกรัมต่อวันถึง 50% โดยขนาดที่แนะนำของ Folic acid ต่อวันคือ 800 ไมโครกรัมต่อวัน นอกจาก Folic acid จะช่วยป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ การทาน Folic acid ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ยังช่วยลดปัญหามีบุตรยากได้อีกด้วย (วิตามินแนะนำ)




5. CoQ10 (โคเอนไซม์คิว10)

CoQ10 เป็นโคเอ็นไซม์ที่ช่วยในการทำงานของ Mitochondria นอกจากนี้ยังมีความสำคัญของ electron transport CoQ10 ยังทำหน้าที่เป็น antioxidant ให้ cell ต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย ซึ่งการทำงานของ CoQ10 ช่วยในการเพิ่มคุณภาพของไข่ ทั้งยังพบว่า CoQ10 มีความสำคัญในการทำงานของระบบสืบพันธุ์ งานวิจัยพบว่า CoQ10 ช่วยเพิ่มคุณภาพของไข่ โดยเฉพาะในคนที่อายุมากกว่า 35 ปี และมีปัญหาเกี่ยวกับ ovarian reserve โดยขนาดของ CoQ10 ที่แนะนำเพื่อเพิ่มคุณภาพไข่คือ 300-600 มิลลิกรัมต่อวัน และควรหยุดทานหากตั้งท้องแล้ว เพราะยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของ CoQ10 ขนาดมากๆว่าส่งผลต่อทารกอย่างไร ดังนั้นถ้าเกิดท้องแล้วควรหยุดทาน CoQ10 ค่ะ







6. Alpha-lipoic acid

Alpha-lipoic acid เป็นวิตามินที่เด่นในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเซลล์ไข่ นอกจากนี้ Alpha-lipoic acid ยังมีส่วนในการทำงานของไมโตรคอนเดรีย ช่วยให้การทำงานของไมโตคอนเดรียในเซลล์ไข่ ทำงานได้อย่างเต็มที่ มีการศึกษาพบว่าคนที่ทาน Alpha-lipoic acid มีคุณภาพไข่ที่ดีกว่า และคุณภาพของตัวอ่อนที่ดีกว่า นอกจากนี้ alpha-lipoic acid ยังไปช่วยการทำงานของ antioxidants ตัวอื่นๆ เช่น CoQ10, Vitamin C, Vitamin E, Glutathione ทั้งยังมีประโยชน์กับคนที่เป็น PCOS เมื่อใช้ร่วมกันกับ Myo-inositol อีกด้วย โดยขนาดที่แนะนำคือ 300-600 มิลลิกรัมต่อวัน โดยทานก่อนอาหาร เนื่องจากดูดซึมได้ดีเมื่อท้องว่าง แต่ควรระวังการทานวิตามินตัวนี้ในคนที่มีปัญหาไทรอยด์ทำงานน้อย หรือกินยารักษาเบาหวานอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานวิตามินค่ะ


7. Melatonin

melatonin หลั่งมาจาก Pineal gland ซึ่งจะหลังออกมาช่วงกลางคืน ตอนที่เรานอนหลับ melatonin ช่วยให้ฮอร์โมนเพศต่างๆ ทำงานอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังช่วยทำหน้าเป็น Antioxidant อย่างดีให้ cell ไข่ คำแนะนำในการทาน Melatonin จะแนะนำพิเศษในคนที่เป็น PCOS เนื่องจากพบว่าระดับ Melatonin ในคนที่เป็น PCOS ลดลงอย่างมาก และมีการศึกษาพบว่า Melatonin มีประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพของไข่ในคนที่จะทำ IVF โดยแนะนำให้ทาน 2-3 สัปดาห์ก่อนการเก็บไข่ โดยขนาด Melatonin ที่แนะนำคือ 3-5 มิลลิกรัมก่อนนอนทันที สำหรับคนที่ไม่มีปัญหาอะไร การทาน Melatonin อาจไปรบกวนการทำงานของ Melatonin ธรรมชาติ โดยแนะนำให้ปรับเปลี่ยนการนอนให้เหมาะสมแทน


8. Vitamin C (วิตามินซี)

วิตามินซี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งพบได้มากใน Ovarian Follicles วิตามินซีและวิตามินอี ช่วยในการปกป้องเซลล์ไข่จากอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมให้เซลล์ไข่ โดยพบว่า วิตามินซี่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหญิงที่มีปัญหามีบุตรยาก และช่วยให้มีลูกสำเร็จเร็วขึ้นในคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี โดยขนาดที่แนะนำคือ 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวันของวิตามินซี


ปกติในวิตามินบำรุงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ (Prenatal vitamins) จะมีส่วนผสมของ Zinc, Iron และ Folic acid อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีวิตามินอื่นๆ เช่น วิตามินดี วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 12 วิตามินบี 6 ซึ่งอาจช่วยในการบำรุงไข่ให้มีคุณภาพ นี่คือความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เพื่อนๆ ควรเริ่มกิน Prenatal vitamins ตั้งแต่เริ่มเตรียมตัวท้องเลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม วิตามินเป็นแค่ผู้ช่วยของเรานะคะ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอและไม่เครียดค่ะ ถ้าเพื่อนๆมี Lifestyle ที่ดี สุขภาพเจริญพันธุ์ก็จะดี รวมถึงสุขภาพโดยรวมก็จะดีด้วยค่ะ แล้วมาติดตามบทความดีๆในตอนหน้านะคะ



สั่งซื้อวิตามินบำรุงไข่




ผลิตภัณฑ์อื่นๆ https://www.drnoithefamily.com/products


Tantawan Jomkwanjai. MD (พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ) drnoithefamily



#drnoithefamily #เตรียมตัวก่อนท้อง #เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ #ความรู้คุณแม่มือใหม่ #fertility #เทคนิคมีลูกง่ายด้วยวิธีธรรมชาติ #เทคนิคมีลูกง่าย #ภาวะมีบุตรยาก #ความรู้สุขภาพ #คนท้อง #อยากมีลูกง่ายทำอย่างไร #fertilitydiet #pregnancy #วิตามินบำรุงไข่ #วิตามินบำรุง


bottom of page