ยินดีต้อนรับสู่ ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์นะคะ ไตรมาสนี้ คุณแม่อาจสบายตัวขึ้นมาก เพราะอาการแพ้ท้องต่างๆ ดีขึ้น สัปดาห์นี้ลูกของเราก็ได้โตขึ้นอีกระดับแล้วค่ะ สัปดาห์นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามกันได้เลยนะคะ
Highlight
สัปดาห์ลูกเริ่มแสดงสีหน้าได้บ้างแล้วนะคะ
สัปดาห์นี้อวัยวะเพศของลูกเริ่มสร้างชัดเจนมากขึ้น แต่แน่นอนว่า อาจจะยังเห็นได้ไม่ชัดเจน จากการทำ Ultrasound
ขนของลูกเริ่มขึ้นตามตัวแล้วค่ะ
สัปดาห์นี้ลูกน้อยเป็นอย่างไร?
เชื่อหรือไม่ว่าตอนนี้ลูกของคุณแม่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าผลส้มเลยค่ะ ขนาดใหญ่ 3.5-4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 60 กรัม สัปดาห์นี้อวัยวะสืบพันธ์ุภายนอกของลูก เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แต่อาจจะยังเห็นไม่ชัดจากการทำ Ultrasound ค่ะ ส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดในสัปดาห์ที่ 20 ค่ะ แต่ถ้าคุณแม่ได้มีการตรวจ NIPT แล้ว อาจจะทราบผลได้บ้างแล้ว ว่าคุณแม่ได้ลูกสาว หรือลูกชาย ค่ะ
สัปดาห์นี้ลูกเริ่มมีขนขึ้นตามตัว ขนนี้เรียกว่า Lanugo คอยให้ความอบอุ่นลูกน้อย ซึ่งขนนี้จะค่อยๆ บางลง เมื่อลูกได้สะสมไข่มันใต้ผิวอย่างเพียงพอค่ะ
ไตรมาสนี้รกได้ทำงานอย่างเต็มที่ สารอาหารที่ลูกจะได้รับ จึงจะเป็นสารอาหารที่มาจากการทานของลูกโดยตรง ดังนั้นสารอาหารจากคุณแม่จึงสำคัญมากค่ะ
อาการของคุณแม่สัปดาห์ที่ 14
สัปดาห์ที่ 14 นี้ เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 อย่างเป็นทางการ มักจะเป็นไตรสาส ที่คุณแม่ชื่นชอบมากที่สุด เพราะ อาการแพ้ท้องดีขึ้น มดลูกขยายพ้นอุ้งเชิงกราน ไม่กดทับมดลูกทำให้ไม่ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น แล้วในสัปดาห์นี้ คุณแม่จะมีอาการอะไรบ้าง?
มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือ Round ligament pain
มดลูกจะมี round ligament เชื่อมกับอุ้งเชิงกราน เมื่อมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดร้าวตรงอุ้งเชิงกรานได้ ซึ่งอาการมักจะเริ่มในสัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์ อาจมีอาการมากขึ้น ตอนลุกนั่ง หรือตอนไอ จาม ได้
เจ็บบริเวณหน้าอก
หน้าอกที่ขยายมากขึ้น มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น หัวนมขยายมากขึ้น อาจทำให้มีความ Sensitive มากขึ้น เวลาสัมผัส ก็อาจไวต่อความรู้สึกมากขึ้น
หิวมากขึ้น
เมื่ออาการแพ้ท้องดีขึ้น แต่คุณแม่ก็ต้องการพลังงานในการเจริญเติบโตของลูกน้อย ทำให้คุณแม่อาจรู้สึกผิวมากขึ้น ดังนั้น การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์จึงสำคัญมากค่ะ คุณแม่ควรได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้นประมาณ 500 Kcal ต่อวันค่ะ
Tips สำหรับสัปดาห์
คุณแม่สามารถทาน Love protein เป็นมื้อเสริมระหว่างวันได้ เพื่อให้ได้พลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ
สัปดาห์นี้คุณแม่อาจพิจาณณาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์
เนื่องจากไตรมาสนี้ ลูกจะเติบโตมากขึ้น เค้าจะต้องการโปรตีนมากขึ้น คุณแม่ควรทานโปรตีนเพิ่มขึ้นจากเดิม อย่างน้อย 25 กรัมต่อวัน
ระวังเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ในไตรมาสนี้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือน้ำหนักควรขึ้น 8-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องน้ำหนักคุณแม่)
เขียนโดย
พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)
Comentarios