top of page

BLW คืออะไร? เริ่มต้นยังไงดี? ต้องเตรียมอะไรบ้าง? (Baby Led Weaning 101)

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า BLW หรือ Baby led weaning นะคะ แต่หลายคนคงสงสัยว่า BLW คืออะไร? แล้วลูกควรเริ่มให้ทานแบบ BLW หรือยัง? แล้วควรเริ่มต้นอย่างไรดี? วันนี้หมอหน่อยจะมาขอแชร์เทคนิคการให้ลูกเริ่มทานแบบ BLW ค่ะ


Baby Led Weaning (BLW) คืออะไร?


Weaning คือการที่เริ่มให้ลูกเริ่มทานอาหาร โดยเริ่มลดการทานนมแม่ หรือนมผง โดย Baby Led Weaning เป็นการเริ่มอาหารให้กับลูก โดยให้ลูกเป็นผู้เลือกทาน และหยิบทานด้วยตัวเอง ซึ่งอาจแตกต่างจากการป้อนอาหารแบบดั้งเดิม (อ่านเพิ่มเติมเรื่องป้อนอาหารลูกด้วยช้อน) ซึ่งการทานแบบ BLW นี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน


เมื่อไหร่ควรเริ่มให้ลูกทานแบบ BLW?


ตามคำแนะนำของ American Academy of Pediatrics (AAP) และ World Health Organizationแนะนำให้ให้นมแม่เป็นอาหารหลักในช่วง 6 เดือนแรก แล้วเริ่มฝึกให้ทานอาหาร 1 มื้อในช่วงประมาณ 6 เดือน มีงานวิจัยสนับสนุนว่า ช่วงอายุ 6 เดือนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะฝึกให้ลูกทานอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทานยากในอนาคต


โดยการสังเกตว่าลูกสามารถเริ่มทานอาหารแบบ BLW ได้รึยัง สามารถสังเกตหลักๆ ได้คือ

  • ลูกคอแข็งแรง สามารถควบคุมต้นคอได้ดี

  • สามารถนั่งได้ด้วยเก้าอี้ High chair

  • อาการดันลิ้น หรือ Tongue thrust reflex หายไป : tongue thrust reflex เป็นอาการที่ลูกมีเพื่อป้องกันอาหารเข้าปากแล้วสำลักอาหาร ซึ่ง Reflex นี้มักจะหายไปช่วงอายุ 4-6 เดือน ถ้ายังมี Reflex นี้อยู่ ลูกอาจจะยังไม่พร้อมในการเริ่มทานอาหาร

  • ลูกมีความสนใจในการกิน เริ่มพยายามเอาสิ่งของเข้าปาก

  • น้ำหนักลูกขึ้นดีอย่างน้อย 2 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด

อาหารที่ควรให้ลูกทานเป็นแบบไหนบ้าง


ลักษณะอาหารที่ให้ลูกทานจะมีหลักๆ อยู่ 2 แบบ ตามทักษะการจัดของลูก


1. Palmar Grasp :

คือการที่ลูกมีทักษะการจับของโดยใช้อุ้งมือในการจับอาหาร (ดังภาพ) โดยทักษะนี้จะพบได้ในเด็กที่มีอายุประมาณ 6 เดือน ขึ้นไป โดยลูกจะใช้อุ้มมือ ใช้นิ้วทุกนิ้วในการจับอาหาร ลูกมักจะทานได้เฉพาะในช่วยปลายที่โผล่ออกมาจากมือ ดังนั้นอาหารจึงควรมีขนาดที่หนาที่พอดี และยาวออกมาจากอุ้งมือ โดยขนาดของอาหารที่แนะนำ ควรมีขนาดประมาณ นิ้วชี้ ของผู้ใหญ่ค่ะ

ลูกใช้อุ้งมือจับอาหาร

ลักษณะของ Palmer grasp

ขนาดอาหารประมาณนิ้วชี้ของผู้ใหญ่


ตัวอย่างอาหาร BLW สำหรับเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน


2. Pincer Grasp


ประมาณ 9 เดือนขึ้นไป ลูกจะเริ่มมีทักษะการใช้มือที่ดีขึ้น โดยเริ่มฝึกใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ในการจับอาหาร คล้ายการจับดินสอ หรือที่เรียกว่า Pincer Grasp ทำให้ลูกสามารถที่จะจับอาหารที่มีขนาดเล็กลง เข้าปากได้มากขึ้น อาหารจึงสามารถที่จะทำให้มีขนาดเล็กลงได้ (ดังภาพ)


ลักษณะการจับแบบ Pincer grasp

ลักษณะอาหารของเด็กอายุมากกว่า 9 เดือน



อุปกรณ์ที่ควรเตรียมในการเริ่มทานแบบ BLW


แน่นอนว่า การฝึกลูกให้ทานเอง ต้องมีการเปื้อน หรือบ้านเละกันบ้างในช่วงเริ่มต้นที่ลูกฝึกทานอาหาร ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจให้ลูกน้อยทานแบบ BLW ก็อาจต้องทำใจในเรื่องนี้ด้วยนะคะ แต่ความเปื้อนนั้นก็อาจแลกมาได้กับประสบการณ์ที่ดีในการทานข้าวของลูกน้อยค่ะ ซึ่งอุปกรณ์ที่ควรเตรียมสำหรับการทำ BLW คือ


1. เก้าอี้นั่งทานข้าวแบบ High Chair


การให้ลูกทาน BLW ควรให้ลูกนั่งทานเป็นที่ทางชัดเจน โดยควรเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม และสามารถนั่งทานอาหารได้สะดวก ควรจัดพื้นที่ให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการเลือกเก้าอี้ High chair)


2. ผ้ากันเปื้อน (ผ้า Bib)


ผ้ากันเปื้อนหรือผ้า Bib จะช่วยป้องกันการเปื้อนเสื้อผ้า ควรเลือก Bib ที่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายโดยเฉพาะแบบ Silicone ที่สามารถล้างทำความสะอาดได้เลย ควรเลือก Bib ที่มีช่องเก็บของขนาดใหญ่ ไม่เปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย เพื่อให้สามารถจัดเก็บอาหารที่หล่นลงมาได้ง่ายขึ้น

สั่งซื้อ Baby feeding set: https://www.drnoithefamily.com/product-page/Baby-Feeding-Set


3. จาน ชาม ใส่อาหาร


จานอาหาร ควรเลือกชนิดที่มีขนาดกว้าง มีช่องอาหารที่พอดีในการใส่อาหาร ให้ลูกสามารถหยิบอาหารได้ง่าย นอกจากนี้จาน ชาม ควรติดกับเก้าอี้ทานข้าวได้ดี เพื่อป้องกันลูกขว้างจานทิ้ง และทำให้การทานอาหารราบรื่นมากขึ้น ควรเลือกจาน Silicone แบบที่แข็งแรง ปลอดภัย ทำความสะอาดง่าย ไม่มี BPA ไม่มี Phthalate และ เป็น Food grade silicone

สั่งซื้อ Baby feeding set: https://www.drnoithefamily.com/product-page/Baby-Feeding-Set


4. ช้อนฝึกลูกทานเอง


การทานด้วยตัวเอง สามารถทานเป็นอาหารแบบเหลวได้เช่นกัน เช่น อาหารบด อโวคาโด้บด กล้วยบด หรือโยเกิร์ต โดยสามารถใช้ช้อนที่มีขนาดพอดี ด้ามสั้น มีช่องรองรับอาหารที่พอเหมาะ เพื่อให้ลูกสามารถจับช้อนเข้าปากได้ง่ายขึ้น อาหารไม่ตกหล่นออกนอกช้อน


สั่งซ้อน NumNum ได้ที่ : https://www.drnoithefamily.com/product-page/num-num


6. แก้วน้ำสำหรับฝึกดื่มน้ำ


ช่วงหลังจากที่ลูกเริ่มทานอาหาร คุณแม่สามารถให้ลูกเริ่มดื่มน้ำได้แล้วนะคะ โดยสามารถให้ทานน้ำหลังมื้ออาหาร หรือทานน้ำระหว่างวัน โดยควรเริ่มฝึกให้ลูกใช้แก้วแบบหลอดดูด หรือ แก้วเปิดขนาดพอดีมือ เพื่อฝึกให้สามารถทานจากแก้วได้ด้วยตัวเองค่ะ



สั่งซื้อแก้วฝึกลูกทานแก้ว : https://www.drnoithefamily.com/product-page/ezpz


5. อุปกรณ์ตัดผลไม้


หมอหน่อยแนะนำแบบที่มีรอยหยัก เนื่องจากจะช่วยให้ลูกน้อยสามารถจับอาหารได้ง่ายมากกว่า อาหารที่เป็นแบบเรียบๆ โดยทั่วไป



เรื่องราวของการทานแบบ BLW ยังมีอีกเยอะ ทั้งข้อดี ข้อด้อย ของการทาน เมนูอาหารหรือชนิดอาหารที่แนะนำ หรือเทคนิคการฝึกลูกทาน BLW ซึ่งเดี๋ยวหมอหน่อยจะมาแชร์อีกเรื่อยๆ นะคะ อย่าลืมติดตามไว้นะคะ รับรองมีประโยชน์ค่า


เขียนโดย

พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai.MD)








ดู 3,799 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page