top of page

ขั้นตอนการเก็บนมสต๊อก นำนมสต๊อกมาใช้อย่างไร? สำหรับคุณแม่มือใหม่ (How to store breast milk)

อัปเดตเมื่อ 11 ธ.ค. 2566

สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน หรือมีนมแม่มากพอ ที่จะทำสต๊อกเก็บไว้ให้ลูกทานในอนาคต อาจอยากทราบขั้นตอนการเก็บนมสต๊อกที่ปั๊มได้ ว่ามีขั้นตอนการเก็บนมสต๊อกอย่างไร? ทำอย่างไรไม่ให้นมเหม็นหืน แล้วถ้าจะนำนมสต๊อกมาใช้ต้องทำอย่างไร? วันนี้หมอหน่อยมีเทคนิคมาฝากแม่ๆ ค่ะ


สำหรับคุณแม่ ที่ต้องมีการปั๊มนม (อ่านเทคนิคการปั๊มนมสำหรับคุณแม่มือใหม่) และอยากทำสต๊อกนมไว้ในลูกน้อยทาน ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร วันนี้มาดูรายละเอียดเรื่องนี้กันค่ะ


นมสต๊อกเก็บได้นานแค่ไหน?


กรณีคุณแม่มีแผนที่ให้ลูกทานนมที่ปั๊มได้ภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เก็บในตู้เย็นธรรมดาเนื่องจาก นมที่สดใหม่ จะมีคุณค่าทางสารอาหาร และมีภูมิคุ้มกันมากกว่านมแช่แข็ง แต่กรณีที่ต้องเก็บนมสต๊อกในแบบอื่นๆ จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับอายุของลูกน้อยดังนั้น

สถานที่เก็บนมแม่

อายุการเก็บรักษา

อุณหภูมิห้อง มากกว่า 25 องศา

1 ชั่วโมง

อุณหภูมิห้อง น้อยกว่า 25 องศา

4 ชั่วโมง

กระติกน้ำแข็งที่มี Ice pack อุณหภูมิ 15 องศา

24 ชั่วโมง

ตู้เย็นช่องธรรมดา

4 วัน

ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู (-10 ถึง 0 องศา)

3 เดือน

ตู้แช่แข็งแบบ Deep Freezer (-20 ถึง -10 องศา)

6-12 เดือน

กระเป๋าเก็บความเย็น ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีคือ กระเป๋าเก็บความเย็น Soul mate 3 Light gold B-KOOL


กระเป๋าเก็บน้ำนมดีไซน์ 2 ชั้น หมดปัญหา เรื่อง ไอเย็นระเหย โดน เครื่องปั๊ม บุด้วยฉนวนเก็บอุณหภูมิหนาสูงสุดในท้องตลาด ถึง 15 mm เก็บอุณหภูมิได้ยาวกว่า 20 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 11.5°C

มีช่องเก็บของใช้จุกจิกถึง 13 ช่อง

  1. เป็นกระเป๋าเป้ หรือสะพายข้างของคุณแม่นักปั๊ม เก็บทุกอย่างได้ใบเดียว

  2. กระเป๋าทำงานของคุณแม่

  3. กระเป๋าเก็บความเย็น

คุณแม่สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ https://www.b-koolkid.com/

นมแม่เก็บรักษาได้นานแค่ไหน อายุของนมสต๊อก

ขั้นตอนในการเก็บนมสต๊อก

  1. ปั๊มนม โดยล้างมือให้สะอาดก่อนปั๊ม เครื่องปั๊มนมได้รับการทำความสะอาดมาแล้ว หรือเก็บอย่างดี ไม่มีโอกาสสัมผ้สเชื้อโรค

  2. หลังปั๊มนม ให้เก็บในถุงเก็บน้ำนม ที่ออกแบบมาเพื่อเก็บนมโดยเฉพาะ โดยให้เลือกแบบ Food grade และ BPA free

  3. เลือกถุงเก็บน้ำนมในถุงเก็บน้ำนมที่เหมาะกับปริมาณของน้ำนมที่ต้องการเก็บในแต่ละครั้ง เช่น ปั๊มได้ 3 ออนซ์ เก็บในถุง 3 ออนซ์ ปั๊มได้ 8 ออนซ์ให้เก็บในถุง 8 ออนซ์

  4. ไล่อากาศออกจากถุงเก็บน้ำนมให้มากที่สุด หรือเหลือประมาณปลายนิ้วก้อย เพราะลดกลิ่นหืนของนม เนื่องจากในนมแม่ มีเอ็นไซด์ไลเปส (Lipase) ซึ่งทำหน้าที่ให้การละลายไขมันให้กลายเป็น Fatty acid เพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรีย แต่มักจะทำให้นมมีกลิ่นเหม็นหืนได้

  5. เขียน Lebel ที่ถุงเก็บน้ำนม เช่น วันที่เก็บ ชื่อลูก ปริมาณน้ำนม หมายเลขถุง หรือ อาหารที่ทานในช่วงที่ปั๊มนม เนื่องจากถ้าลูกแพ้อาหารง่าย แม่อาจสามารถกลับมาดูได้ว่า ช่วงที่ลูกมีอาการแพ้ แม่ทานอาหารอะไรบ้าง

  6. นำนมไปวางแช่แข็งในแนวราบ เพื่อที่จะสามารถเพิ่มพื้นที่ในการเก็บสต๊อกนมแม่มากขึ้น

  7. หลังจากนมสต๊อกในถุงนั้นแข็งแล้ว สามารถทำไปจัดเก็บใส่ในถุง เรียงตามช่วงเวลาในการเก็บน้ำนม ให้ให้นำนมที่ปั๊มก่อน ออกมาให้ลูกทานก่อน ( First In, First Out)

  8. เก็บนมแม่ในตู้เย็น หรือตู้ฟรีซ ตามที่วางแผนการใช้งาน

เทคนิคอื่นๆ ในการเก็บนมสต๊อก

  • ถ้านมที่ต้องการเก็บมีปริมาณน้อยมาก สามารถนำมารวมกันได้ โดยแนะนำให้นำนมไปแช่เย็นให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันก่อนเทรวมกัน เนื่องจากการเทนมที่มีอุณหภูมิแตกกต่างกันรวมกัน อาจทำให้สารอาหารให้นมแม่มีการเปลี่ยนแปลงได้

  • ไม่ควรเก็บนมแม่ ไว้ที่ช่องประตู หรือช่องเก็บไข่ เนื่องจากอุณหภูมิไม่คงที่ อาจมีผลต่ออายุการเก็บของนมแม่ได้


ขั้นตอนการทำนมแม่ออกมาใช้

  • ให้นำนมแม่ ที่เก็บไว้ก่อนมาใช้ก่อน

  • การละลายนมแม่ ทำได้หลักๆ 3 วิธีคือ

    1. นำนมแม่ออกจากช่องฟรีซมาไว้ตู้เย็นช่องธรรมดาก่อนการทาน 12 ชั่วโมง หรือ นำออกมาคืนก่อนที่จะทาน เช่น วางแผนว่าพรุ่งนี้จะเตรียมนมให้ลูก 12 ออนซ์ ก่อนนอนให้นำนมจากช่องฟรีซ มาไว้ช่องธรรมดาก่อน 12 ออนซ์ ตอนเช้าจะมีนมที่ละลายแล้วให้ลูกทานพอดี

    2. แช่ในน้ำอุณหภูมิห้อง ประมาณ 30 นาที นมแม่จะละลายพร้อมทาน

    3. นำนมที่ฟรีซไว้ ไปผ่านน้ำอุ่นประมาณ 39 องศา เพื่อให้นมละลาย

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • ห้ามละลายนมแม่ในไมโครเวฟ เนื่องจากการทำให้สารอาหารให้นมแม่หายไป

  • ห้ามละลายนมแม่โดยการวางที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากอาจทำให้มีแบคทีเรีย เจริญเติบโต จนอาจทำให้ลูกเจ็บป่วยได้

  • ห้ามละลายนมแม่ในน้ำร้อน

การนำนมให้ลูกทาน

  • สามารถให้ลูกทานนมที่ละลายแล้วแบบเย็นๆ ได้เลย เนื่องจากพบว่ามีกลิ่นหืดน้อยกว่า

  • กรณีลูกไม่ชอบนมเย็นแต่ชอบนมอุ่นๆ สามารถนำไปอุ่นในน้ำอุ่น 38-39 องศา หรือเครื่องอุ่นนม ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาได้

  • ให้ชิมนมก่อนให้ลูกทานทุกครั้ง นมแม่อาจมีกลิ่นหืดได้ แต่ห้ามมีรสเปรี้ยว นมแม่ที่เสียแล้วจะมีรสเปรี้ยว ห้ามให้ลูกทานค่ะ

ข้อควรระวัง

  • หลังจากละลายนมสต๊อกแล้วควรทานให้หมดใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่หมดควรทิ้งไป ดังนั้น ควรนำออกมาให้พอดีกับที่ลูกต้องการทานค่ะ

  • ห้ามนำนมสต๊อกที่ละลายแล้วกลับไปแช่ช่องแช็งซ้ำ เพราะอาจมีแบคทีเรียเจริญเติบโตได้


เทคนิคการละลายนมแม่ ละลายนมสต๊อก

เขียนโดย

พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ หมอหน่อย (Tantawan Jomkwanjai. MD)












ดู 5,866 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page