top of page
รูปภาพนักเขียนdrnoithefamily

ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Low testosterone)

อัปเดตเมื่อ 26 พ.ค. 2564

ฮอร์โมนเพศชายหรือ Testosterone มีความสำคัญต่อร่างกายของคุณผู้ชายมาก เป็นฮอร์โมนที่สร้างลักษณะของเพศชาย สร้างกล้ามเนื้อ กระดูก ประสิทธิภาพทางเพศ รวมถึงการสร้างสเปิร์มด้วย โดยปกติคุณจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูงมากช่วง 20-30 ปี และจะเริ่มลดลงปีละ 1% หลังอายุ 30 ปี แต่พบว่าในปัจจุบัน ชายอายุ 30 ต้นๆ ก็เจอภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำแล้ว จากปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่าง แล้วอาการไหนบ้างที่อาจต้องสงสัยว่าคุณมีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ แล้วมีสาเหตุไหนบ้างที่ทำให้เกิดภาวะนี้ วันนี้ไปติดตามกันค่ะ


ฮอร์โมนเพษชายต่ำ อาการฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย

อาการของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ


อาการของภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ที่พบได้บ่อย หมอจะขอแบ่งให้เข้าใจง่าย 4 ระบบคือ


1.การแสดงออกทางร่างกาย

  • ผมร่วง

  • มีหน้าอก

  • กล้ามเนื้อลดลง

  • อาการอ่อนเพลีย

  • นอนไม่หลับ

  • มีภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย


2. อาการทางเพศ

  • ถุงอัณฑะมีขนาดเล็ก

  • ความต้องการทางเพศลดลง

  • มีปัญหานกเขาไม่ขัน

  • ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ปกติ

  • ปริมาณน้ำอสุจิลดลง

  • ไม่มีลักษณะอวัยวะเพศแข็งตัวในตอนเช้า

  • มีปัญหามีบุตรยาก


3. ระบบหัวใจและการเผาผลาญพลังงาน

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น BMI เพิ่มขึ้น

  • อ้วนลงพุง

  • มีภาวะ Metabolic syndrome

  • มีโรคเบาหวาน หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

4. ระบบประสาท

  • มีอารมณเปลี่ยนแปลงง่าย เช่น โกรธ โมโหง่าย เสียใจง่าย รู้สึกหลุดหงิดง่าย

  • มีภาวะซึมเศร้า

  • ความจำแย่ลง

  • สมาธิสั้น

  • การคิดเลขต่างๆแย่ลง

ถ้าคุณสงสัยว่าคุณอาจจะเข้าข่าย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม เพื่อทำการตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายของคุณ เพราะคุณอาจจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ปกติ แต่แค่มีอาการคล้ายๆ หรือคุณอาจจะมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ต่ำจริงก็ได้


ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ปกติสามารถจำเป็นตัวเลขกลมๆคือ ระหว่าง 300-1,000 ng/dl ถ้าต่ำกว่า 300 ng/dl ถือว่าต่ำ การตรวจหาระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจ ขั้นตอนตรวจคือ

  • ตรวจตอนเช้า เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะสูงมากในช่วงเช้า

  • งดยาที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนคาดเคลื่อน เช่นยากลุ่มสเตอรอยด์ หรือยากลุ่มฮอร์โมนเสริม

  • แพทย์อาจทำการตรวจซ้ำ 2-3 ครั้งเพื่อความแน่ชัด


การวินิจฉัยหลักๆ คือ


การตรวจร่างกาย : เพื่อหาความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรลต่ำ


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ: เช่น

  • การตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

  • การตรวจระดับ FSH, LH

  • การตรวจสเปิร์ม เพื่อดูว่ายังมีปริมาณปกติหรือไม่

  • การตรวจเพื่อหาสาเหตุในการแยกโรคอื่นๆ รวมถึงอาจจำเป็นต้องแสกนสมอง หากสงสัยความผิดปกติในสมองร่วมด้วย


สาเหตุของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ


ภาวะที่ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ( Low testosterone) เกิดได้จากหลายสาเหตุ อธิบายคร่าวๆเป็น 3 สาเหตุหลักคือ


1. ความผิดปกติของการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนบริเวณต่อมลูกหมาก (Primary Hypogonadism)


2. ความผิดปกติของการสร้างผิดปกติของต่อมใต้สมองหรือส่วนไฮโปทาลามัส ทำให้การสร้าง GnRH, FSH และ LH ผิดปกติ จึงไม่สามารถกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ (Secondary Hypogonadism)


3. ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น

- ได้รับสาร BPA, Phthalates

- ภาวะน้ำหนักเกิน, อ้วน

- ทานอาหารที่มี Phytoestrogen มากเกินไป เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

- นอนหลับไม่เพียงพอ

- ภาวะเครียด

- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ เป็นต้น


การรักษาของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ


ในคนที่มีอาการของภาวะขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อาจต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน หรือ Testosterone replacement therapy การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายทดแทน จะช่วยให้อาการต่างๆดีขึ้น

  • สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น

  • ความต้องการทางเพศดีขึ้น

  • มวลกล้ามเนื้อ กระดูกแข็งแรงขึ้น

  • สภาพจิตใจ อารมณดีขึ้น

แต่การรับฮอร์โมนทดแทนนั้นก็มีผลข้างเคียงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งผู้รับการรักษาควรปรึกษาแพทย์ถึงความผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย


การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศมีหลายรูปแบบ ทั้งการใช้แผ่นแปะ การฉีด การกินชนิดเม็ด หรือแม้กระทั่งรูปแบบเจล ซึ่งหมออาจจะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายในหนังสือนี้ หากใครมีความสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านของคุณได้เลยนะคะ จะได้ข้อมูลที่ลงลึก และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุดค่ะ


นอกจากการใช้ยาฮอร์โมนเพศชายแล้ว คุณยังสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของคุณได้ด้วยวิธีธรรมชาติ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทานอาหารที่ดี รวมถึงการทานวิตามินบำรุงที่เหมาะสม หากใครสนใจรายละเอียดเรื่องการดูแลสุขภาพชาย สามารถติดตามอ่านเรื่องอื่นๆได้จากบทความก่อนหน้านี้ของหมอได้เช่นกันนะคะ


ใครสนใจวิตามินบำรุงคุณผู้ชายที่หมอหน่อยคัดเลือกมาแล้ว สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ใน https://www.drnoithefamily.com/products นะคะ




แล้วมาติดตามกันได้ใหม่ในบทความหน้าค่ะ


เขียนโดย


Tantawan Jomkwanjai. MD (พญ. ทานตะวัน จอมขวัญใจ) drnoithefamily


#ฮอร์โมนเพศชายต่ำ #อาหารเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย #ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย #ตรวจฮอร์โมนเพศชาย #อาการฮอร์โมนเพศชายต่ำ #อาการฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง #วิตามินอะไรเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย

Comments


bottom of page